This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.This theme is Bloggerized by Lasantha Bandara - Premiumbloggertemplates.com.

ปลูกพืชผักสวนครัว ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ณ. โรงเรียนวัดหนองโว้งวิทยา สุโขทัย

รายงานสรุปกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว
ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
. โรงเรียนวัดหนองโว้งวิทยา สุโขทัย
วันอังคารที่ 16  กันยายน 2556
..........................................................................

จากที่ สามเณรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ปลูกืชผักสวนครัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งที่สามเณรได้รับความรู้จากการปลูกพืชผักสวนครัวในครั้งนี้คือ 
1.ความรู้ (Knowledge) เกี่ยวกับคุณสมบัติ และ ประโยชน์ของพืชผักสวนครัว และรู้ในการนำไป ปรุงเป็นอาหารได้ มีความรู้ร้อย ละ 80
2. การวางแผน(Planing) ในการจัดสรรค์ทรัพยากร ในการปลูก สามเณรวางแผนสามารถวางแผนด้วยการระดมสมอง ร้อยละ 75
3. มีการลงมือทำ คือการ (Do) ขุดลอกหน้าดินและพรวนดินและปลูกพืชผักสวนครัวตามเนื้อที่ ที่เจ้าของโครงการกำหนด ลงมือทำ  ร้อยละ 85
4.มีการตรวจสอบคุณลักษณะ (Check)ของพืชผักสวนครัวที่นำ มาปลูกจนถึงขนาดความยาวที่ได้สัดส่วนสามเณร ตรวจสอบคุณภาพของพืชผักสวนครัว ร้อยละ 80
5. มีการแก้ใข (Act ) เหตุที่คาดไม่ถึง เช่น วัสดุไม่เพียงพอ สามเณรสามารถแก้ใขปัญหาโดยการ ระดมสมอง สามเณรแก้ใขปัญหาได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 80
6. ทักษะ  (Skill) สามเณรสามารถ ใช้ทักษะในการปลูกพืชผักสวนครัว ตั้งแต่ขั้นตอนการหาวัสดุ ,ประสานงานกับชาวบ้านเพื่อขอพืชผักสวนครัวกับชาวบ้าน รวมถึงการพรวนดิน และการปลูก สามเณรใช้ทักษะในการปลูกพืชักสวนครัวร้อยละ 85
สรุปผล สามเณรได้รับความรู้จากการปลูกพืชผักสวนครัวในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 81

กลอนสักวา

กลอนสักวา

สักวา/หวานอื่น/มีหมื่นแสน// ไม่เหมือนแม้น/พจมาน/ที่หวานหอม//
กลิ่นประเทียบ/เปรียบดวง/พวงพะยอม// อาจจะน้อม /จิตโน้ม/ด้วยโลมลม//
แม้นล้อลาม/หยามหยาบ/ไม่ปลาบปลื้ม// ดังดูดื่ม/บอระเพ็ด/ต้องเข็ดขม//
ผู้ดีไพร่/ไม่ประกอบ/ชอบอารมณ์// ใครฟังลม/เมินหน้า/ระอาเอย//

(สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
 

สำนัก งานพุทธศาสนาแห่งขาติ ส่วนกลางตรวจสอบบัญชีภายในโรงเรียนปริยัติธรรมกลุ่ม 4

สำนัก งานพุทธศาสนาแห่งขาติ ส่วนกลางตรวจสอบบัญชีภายในโรงเรียนปริยัติธรรมกลุ่ม 4หนึ่งในนั้นคือ โรงเรียนวัดหนองโว้งวิทยา ฯลฯเป็นต้น

ประวัติสุโขทัย

ประวัติสุโขทัย
"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายเสือไทย    เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา
งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ        สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"
พ่อขุนราม พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยางได้ร่วมกันยึดเมืองสุโขทัยคืนมาจากขอม และตั้งเป็นอาณาจักรอิสระขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ. 1761   อาณาจักรสุโขทัยจึงถือเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวหรือพระนามใหม่ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็น ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงปกครองอาณาจักรในแบบพ่อปกครองลูก สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองและสามารถขยายอาณาเขต ได้กว้างขวางมากที่สุด
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ภายหลังรัชสมัยนี้แล้วสุโขทัยก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง เพราะเป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ 2
แห่ง คือ ทางด้านเหนือเป็นอาณาจักรเชียงใหม่ ส่วนด้านใต้เป็นอาณาจักรอยุธยา ซึ่งในที่สุดสุโขทัยก็สูญเสียความเป็นเอกราชอยู่ภายใต้การปกครอง
ของอยุธยาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุโขทัยถูกรวมอยู่ในมณฑลพิษณุโลก และเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดสุโขทัยภายหลัง เปลี่ยน แปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ค่ะ
ปัจจุบันจังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่างห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 440 กิโลเมตรแบ่งการปกครองออกเป็น9อำเภอ คือ อำเภอเมือง กงไกลลาศ ศีรีมาศ บ้านด่านลานหอย สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง ศรีนคร และทุ่งเสลี่ยม

การแสวงหาความรู้ ด้วยตนเอง


  การแสวงหาความรู้  คือ ทักษะที่จะต้องอาศัยการเรียนรู้และวิธีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ช่วยทำให้เกิดแนวความคิดความเข้าใจที่ถูกต้องและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะผู้เรียนจะเกิดทักษะในการค้นคว้า สิ่งที่ต้องการและสนใจใคร่รู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   จะทำให้ทราบข้อเท็จจริง   และสามารถเปรียบเทียบข้อเท็จจริงที่ได้มาว่าควรเชื่อถือหรือไม่ 

        เพื่อ เสริมทักษะการสร้างปัญญาให้กับผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเช่่น
         1 ทักษะการสังเกต  คือ การสังเกตสิ่งที่เราเห็น สิ่งแวดล้อม  หรือสิ่งที่เราจะศึกษา  โดยสังเกตเกี่ยวกับแหล่งที่มา ความเหมือน  ความแตกต่าง  สาเหตุของความแตกต่าง ประโยชน์ และผลกระทบ  วิธีฝึกการสังเกต  คือ   การฝึกสมาธิ  เพื่อให้มีสติ และทำให้เกิดปัญญา  มีโลกทรรศน์  มีวิธีคิด 
     2  ทักษะการบันทึก  คือ   การบันทึกสิ่งที่ต้องจำหรือต้องศึกษา  มีหลายวิธี  ได้แก่  การทำสรุปย่อ การเขียนเค้าโครงเรื่อง  การขีดเส้นใต้   การเขียนแผนภูมิ  การทำเป็นแผนภาพ  หรือ ทำเป็นตาราง เป็นต้น วิธีฝึกการบันทึก  คือ  การบันทึกทุกครั้งที่มีการสังเกต  มีการฟัง หรือมีการอ่าน  เป็นการพัฒนาปัญญา
    3  ทักษะการนำเสนอ  คือ   การทำความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้ได้ โดยจดจำในสิ่งที่จะนำเสนอออกมาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การทำรายงานเป็นรูปเล่ม การรายงานปากเปล่า การรายงานด้วยเทคโนโลยี  เป็นต้น   วิธีฝึกการนำเสนอ คือ  การฝึกตามหลักการของการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถนำเสนอ ได้ดีซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญา
   4  ทักษะการฟัง คือ การจับประเด็นสำคัญของผู้พูด สามารถตั้งคำถามเรื่องที่ฟังได้  รู้จุดประสงค์ในการฟัง  ผู้เรียนจะต้องค้นหาเรื่องสำคัญในการฟังให้ได้  วิธีฝึกการฟัง คือ  การทำเค้าโครงเรื่องที่ฟัง จดบันทึกความคิดหลัก  หรือถ้อยคำสำคัญลงในกระดาษบันทึกที่เตรียมไว้ อาจตั้งคำถามในใจ  เช่น  ใคร  อะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  เพราะเหตุใด  อย่างไร  เพราะจะทำให้การฟัง มีความหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 5  ทักษะการถาม  คือ  การถามเรื่องสำคัญ ๆ  การตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อนำคำตอบมา เชื่อมต่อให้สัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้แล้วมาเป็นหลักฐานสำหรับประเด็นที่ กล่าวถึง สิ่งที่ทำให้เราฟัง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  คือ  การถามเกี่ยวกับตัวเราเอง  การฝึกถาม-ตอบ เป็นการฝึกการใช้เหตุผลวิเคราะห์ สังเคราะห์  ทำให้เข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างชัดเจน ถ้าเราฟังโดยไม่ถาม-ตอบ  ก็จะเข้าใจ ในเรื่องนั้น ๆ ไม่ชัดเจน